รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) เป็นหนึ่งในรอยเลื่อนมีพลังที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวถึง 1,200 กิโลเมตร และทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ผ่านกลางประเทศเมียนมา โดยเริ่มจากเมือง มิตจีนา ทางตอนเหนือ และพาดผ่านเมืองสำคัญหลายแห่ง และต่อเนื่องลงไปสู่ทะเลอันดามัน

.

📌 ผลกระทบจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนสะกาย

การเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนสะกายทำให้เกิดแผ่นดินไหวเป็นระยะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีข้อมูลจากเครื่องมือตรวจวัด (Instrumental Records) ระบุว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2507-2555 (48 ปี) ได้เกิดแผ่นดินไหวหลัก 276 ครั้ง ภายในรัศมี 100 กิโลเมตร จากรอยเลื่อน โดยมีขนาดอยู่ระหว่าง 2.9-7.3 แมกนิจูด

.

📌 แผ่นดินไหวสำคัญที่เกิดจากรอยเลื่อนสะกาย

รอยเลื่อนสะกายไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อเมียนมาเท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างแรงสั่นสะเทือนที่รู้สึกได้ในประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณภาคกลาง ตัวอย่างแผ่นดินไหวครั้งสำคัญ ได้แก่

⚠️ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2455 | ขนาด 8.0 แมกนิจูด

o เกิดที่เมืองมัณฑะเลย์

o ทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงในเมียนมาและพื้นที่ใกล้เคียง

.

⚠️ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 | ขนาด 7.3 แมกนิจูด

o ส่งผลกระทบรุนแรงต่อโครงสร้างอาคารในย่างกุ้ง

o มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

.

⚠️ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2473 | ขนาด 7.3 แมกนิจูด

o จุดศูนย์กลางอยู่ที่เมืองพะโค

o มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 500 คน

.

ความเสี่ยงของเมืองสำคัญที่อยู่ใกล้รอยเลื่อนสะกาย

จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยเว็บไซต์มิตรเอิร์ธ พบว่าเมืองสำคัญที่อยู่ใกล้รอยเลื่อนสะกายมีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวแตกต่างกัน ดังนี้

⚠️ เมืองที่มีความเสี่ยงสูง (โอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.0 ในอีก 50-100 ปี = 40-60%)

o มิตจีนา

o เนปยีดอ

.

⚠️ เมืองที่มีความเสี่ยงต่ำ (โอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.0 ในอีก 100 ปี ต่ำกว่า 10%)

o มัณฑะเลย์

o ย่างกุ้ง

.

รอยเลื่อนสะกายเป็นรอยเลื่อนมีพลังที่มีประวัติการเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง และอาจสร้างผลกระทบต่อเมืองสำคัญในเมียนมา รวมถึงบางพื้นที่ของประเทศไทย การติดตามและประเมินความเสี่ยงของรอยเลื่อนนี้อย่างต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต